กระเนื้อ
กระเนื้อ (Seborrheic Kerstosis)
มีลักษณะเป็นก้อน หรือ ตุ่มขนาดเล็กนูนขึ้นมาจากผิวหนัง ซึ่งสามารถพบได้ในบริเวณใบหน้า หน้าอก ไหล่ หรือบริเวณด้านหลัง โดยมักพบได้บ่อยในวัยกลางคนและผู้สูงอายุ อาการดังกล่าวนี้ไม่ก่อนให้เกิดความเจ็บปวด จึงไม่จำเป็นต้องรักษาก็ได้ แต่อาจทำให้คนไข้รู้สึกกังวลใจเวลาลูบผิวโดน ทำให้ผิวไม่เรียบเนียน แต่งหน้าได้ลำบาก
ลักษณะหรืออาการของกระเนื้อสามารถสังเกตได้จาก
-
มีลักษณะเป็นก้อนเนื้อรูปร่างทรงกลมหรือวงรีคล้ายแปะติดอยู่กับผิวหนัง
-
ขนาดของกระเนื้อส่วนมากมีขนาดเล็กไปจนถึงประมาณ 1 นิ้ว (2.5 เซนติเมตร)
-
มีหลายสี พบได้ตั้งแต่น้ำตาลอ่อนหรือเข้มไปจนถึงสีดำ
-
พื้นผิวของกระอาจมีลักษณะเรียบมันหรือขรุขระ ค่อนข้างแบนหรือนูนขึ้นมาเล็กน้อย
-
พบได้บ่อยตามใบหน้า หนังศีรษะ หน้าอก ไหล่ ท้อง และหลัง มักเกิดเป็นกระจุกมากกว่าจุดเดียว แต่จะไม่พบตามฝ่ามือหรือฝ่าเท้า
-
อาจมีอาการคันหรือเกิดการระคายเคือง แต่ไม่มีอาการเจ็บ
สาเหตุของกระเนื้อ
ในปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่แท้จริงของกระเนื้อ แต่เชื่อว่าปัจจัยที่เกี่ยวข้องในการเกิดมีดังนี้
-
อายุ อายุที่เพิ่มมากขึ้นทำให้เกิดกระเนื้อได้มากตามวัย โดยพบบ่อยในผู้สูงอายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไปได้ถึง 90% และมักเกิดกับผู้ใหญ่วัยกลางคนอายุระหว่าง 30-40 ปีเช่นกัน ซึ่งอัตราการเกิดในเพศชายและหญิงเท่ากัน และไม่ค่อยพบในคนอายุน้อยกว่า 20 ปี
-
พันธุกรรม บุคคลที่มีประวัติคนในครอบครัวเป็นกระเนื้อมักมีเกิดกระเนื้อสูงกว่าคนทั่วไปจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรม
-
แสงแดด ผู้ที่ตากแดดเป็นเวลานานหรือชอบอยู่กลางแจ้งมีโอกาสเกิดกระเนื้อมากขึ้น
-
สาเหตุอื่น ๆ เช่น เป็นโรคผิวหนัง การติดเชื้อไวรัส การกลายพันธุ์ของยีน
โปรแกรมการรักษาอื่นๆ
-
การรักษารอยสิว รอยดำ รอยแดง
-
การยกกระชับปรับรูปหน้า
Ultra Hifu by Ultraformer III
Fotona 4D -
การกำจัดขน
-
การฉีดสลายไขมัน
การรักษากระเนื้อ
-
การผ่าตัดด้วยความเย็นจัดหรือการจี้เย็น (Cryosurgery) เป็นวิธีรักษาที่ค่อนข้างมีประสิทธิภาพ โดยการใช้ไนโตรเจนเหลวแช่แข็งทำลายเนื้อเยื่อที่ผิดปกติออก แต่อาจส่งผลให้เกิดรอยด่างบริเวณที่เกิดกระเนื้อ และไม่ค่อยได้ผลดีกับกระเนื้อที่มีลักษณะนูน
-
การขูดเอาเนื้อเยื่อที่เป็นกระเนื้อออกโดยใช้อุปกรณ์ทางการแพทย์ที่เรียกว่า Curettage เพื่อให้ผิวหนังบริเวณนั้นบางหรือเรียบลง โดยอาจใช้ควบคู่กับวิธีการผ่าตัดด้วยความเย็นจัด หรือการจี้ด้วยไฟฟ้า
-
การจี้ไฟฟ้า (Electrocautery) แพทย์จะทายาชาเฉพาะที่ก่อนใช้เครื่องจี้ไฟฟ้ากับผิวหนังบริเวณที่เกิดกระเนื้อ แพทย์อาจใช้วิธีนี้เพียงวิธีเดียวหรือทำควบคู่กับการขูดเอาเนื้อเยื่อออก หากทำไม่ถูกวิธีหรือแพทย์ที่ไม่ชำนาญอาจก่อให้เกิดรอยแผลเป็นตามมา และค่อนข้างใช้เวลานานกว่าวิธีการรักษาอื่น
-
การรักษาด้วยเลเซอร์ (Ablative Laser Surgery) ซึ่งมีเลเซอร์อยู่หลายชนิดที่ช่วยให้กระเลือนลงได้
-
การจี้ด้วยสารเคมี (Focal Chemical Peel) เช่น กรดไตรคลอโรอะซิติก (Trichloroacetic Acid)
ทุกวิธีล้วนมีข้อดีและข้อเสีย ที่กริตธาดาคลินิก เราเลือกใช้การรักษาด้วยเลเซอร์ Erbium ถือเป็นวิธีที่ปลอดภัย ไม่ก่อให้เกิดแผลเป็น และสามารถกำจัดออกได้หมดภายใน 1-2 ครั้ง ขึ้นอยู่กับปริมาณ และที่สำคัญเลเซอร์โดยแพทย์ทุกครั้ง ก่อนการรักษาจึงควรปรึกษาแพทย์เสมอ อย่างไรก็ตาม หลังการรักษาก็อาจมีโอกาสเกิดกระเนื้อขึ้นในส่วนอื่นของร่างกาย แต่มักไม่ค่อยกลับมาเป็นซ้ำในจุดเดิม
ข้อแนะนำการดูแลหลังเลเซอร์กระ เพื่อให้ได้ผลการรักษาที่ดีที่สุด คือ
หลังการรักษากระลึกจะไม่มีสะเก็ดดำเหมือนกันรักษากระตื้น อาจมีอาการช้ำ หรือมีจุดเลือดออกเล็กๆให้เห็นในผิวได้บ้างเป็นปกติซึ่งจะค่อยๆจางลงเองใน 1 สัปดาห์ โดยในช่วงที่ทำการรักษามีคำแนะนำในการปฏิบัติตัวคือ
-
หลีกเลี่ยงแสงแดดและทากันแดดเป็นประจำ เพื่อช่วยให้ผลการรักษาที่ดี และลดโอกาสเกิดผลข้างเคียงเช่นรอยดำจากเลเซอร์
-
ทายา และรับประทานยาตามที่แพทย์สั่ง เพื่อให้การรักษาที่ประสิทธิภาพดีที่สุด และมาพบแพทย์ตามที่นัดเพื่อประเมินผลการรักษาอย่างต่อเนื่อง
-
หลีกเลี่ยงสิ่งที่อาจก่อให้เกิดความระคายเคืองผิว เช่น การลอกหน้าด้วยกรดต่างๆ การใช้น้ำอุ่นล้างหน้า การขัดผิว การนวดหน้า ในช่วงแรกหลังทำการรักษาด้วยเลเซอร์